เราใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณในเว็บไซต์นี้
2 มีนาคม 2566    956

ขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจสำคัญ ป้องกันน้ำท่วมแบบบูรณาการ

เปิดนโยบาย ๖ ด้าน “ดร. ธนดร พุทธรักษ์ นายกเทศมนตรีนครอุดรธานี” ย่างก้าวสู่การเป็น “เมืองแห่งโอกาส-เมืองแห่งความสุข-เมืองที่่น่าอยู่และปลอดภัยอย่างยั่งยืน”

ตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครอุดรธานี และสมาชิกสภาเทศบาลนครอุดรธานี ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๔ และ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔ นั้น เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๑๔ พุทธศักราช ๒๕๖๒ มาตรา ๔๘ ทศวรรคแรก ที่ได้บัญญัติไว้ว่า ก่อนนายกเทศมนตรีเข้ารับหน้าที่ ให้ประธานสภาเทศบาลเรียกประชุมสภาเทศบาล เพื่อให้นายกเทศมนตรีแถลงนโยบายต่อสภาเทศบาล โดยไม่มี การลงมติซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี
                โดย นายธนดร พุทธรักษ์ นายกเทศมนตรีนครอุดรธานี ได้แถลงต่อ สภาเทศบาลนครอุดรธานี เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๔ ณ สำนักงานเทศบาลนครอุดรธานีว่า เทศบาลนครอุดรธานี คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เป็นจุดศูนย์กลางของจังหวัดอุดรธานี มีจุดเด่นสำคัญด้านจุดที่ตั้งที่สามารถเชื่อมโยงสู่กลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และ เมืองชายแดนสำคัญในต่างประเทศ ประกอบกับจังหวัดอุดรธานีมีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วต่อเนื่องมาตลอด ส่งผลให้การใช้ประโยชน์ของที่ดินขยายตัวอย่างรวดเร็ว เช่นกัน เห็นได้จากการขยายตัวของเมืองในพื้นที่ของเทศบาลนครอุดรธานี และเทศบาลอื่นโดยรอบ เชื่อมโยงเป็นระบบเมืองเดียวกัน การบริหารจัดการเมืองจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัย บุคลากรและองค์ความรู้ที่ให้ หลากหลายมากยิ่งขึ้นรวมถึงการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน สำคัญ คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันบริหารจัดการเทศบาลนครอุดรธานี และเทศบาลโดยรอบ ให้เป็น “เมืองศูนย์กลางของอนุภาคลุ่มน้ำโขง” อย่างแท้จริง ในการเข้ารับตำแหน่ง นายกเทศมนตรีนครอุดรธานี และคณะผู้บริหารได้กำหนดนโยบาย ในการพัฒนาเทศบาลนครอุดรธานี โดยมีแนวทางหลัก ในการพัฒนา ให้เทศบาลนครอุดรธานีเป็น “เมืองแห่งโอกาสสำหรับทุกคน” ด้วยการเปิดโอกาสให้กับตัวแทนจากทุกภาคส่วน ได้มีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการและพัฒนาเมืองให้ตรงกับความต้องการของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน สร้างพื้นที่ ในการเข้าถึงให้กับตัวแทนจากทุกภาคส่วน ทุกกลุ่ม ทุกชุมชน เพื่อร่วมกันเสนอแนะแนวทางการ บริหารจัดการเมืองและเสนอนโยบาย ต่อ คณะผู้บริหารเทศบาลนครอุดรธานีด้วยการจัดตัง“สภาพลเมือง เพื่อเป้าหมายหลักที่สำคัญในการพัฒนาเทศบาลนครอุดรธานี สู่ “เมืองแห่งความสุข” หมายถึงเมือง ที่ประชาชนทุกภาคส่วน ทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย มีส่วนร่วมในการออกแบบเมืองในทุกมิติที่สำคัญ ทั้ง ๓ ด้าน คือ ๑. ด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อ ม
๒. ด้านเศรษฐกิจ๓. ด้านสังคม เพื่อให้เทศบาลนครอุดรธานีก้าวสู่ “เมืองที่น่าอยู่และปลอดภัยอย่างยั่งยืน” และเป็นเมืองที่ทุกคนทั้งใน ประเทศและต่างประเทศจะต้องมาเยือน ดังนั้นเพื่อให้การบริหารงานของเทศบาลนครอุดรธานี เสร็จตาม เป้าหลัก พร้อมยึดมั่นในหลักการบริหารที่สำคัญ ๒ ประการคือ ๑. ยึดมั่นและส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

โดยได้กำหนดนโยบายในการพัฒนา ๖ ด้าน ดังนี้

๑. นโยบายเร่งด่วน ที่มีความจำ เป็นที่ต้องเร่งดำ เนินการ ๕ เรื่อง ดังนี้
                 ๑.๑ การป้องกันการแพร่ระบาด และการส่งเสริมให้กับประชาชนได้เข้าถึงวัคซีนป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ถือเป็นบทบาทสำคัญของเทศบาลนครอุดรธานีในการป้องกัน และสนับสนุนหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ทุกภาค      ส่วนเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค และประเด็นที่สำคัญ คือ การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงการฉีดวัคซีนอย่างรวดเร็วและครอบคลุมเพื่อ ให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่เป็น สิ่งสำคัญ ด้วยการขออนุมัติงบประมาณ จากสภาเทศบาลนครอุดรธานี ในการจัดซื้อวัคซีนเพื่อ เป็น ทางเลือกจากวัคซีนหลัก และเป็นการช่วยเหลือรัฐบาลในการเร่งฉีดวัคซีน
                 ๑.๒ การป้องกันน้ำท่วม ด้วยการวางแผนบูรณการร่วมกับหน่วยงานอื่น เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดอุดรธานี แขวงทางหลวงอุดรธานีที่ ๑ สำนักงาน ชลประทานจังหวัดอุดรธานี เทศบาลเมืองหนองสำโรง เทศบาลตำบลหนองบัว และหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้องเพื่อ วางแผนระดมเครื่องจักรเครื่องมือ และ     บุคลากร ขุดลอกลำห้วยหมากแข้ง ลำห้วยมั่ง และทางระบายน้ำในพื้นที่เขตเทศบาลนครอุดรธานี และเขตพื้นที่เทศบาลอื่นที่ เป็นพื้นที่รับน้ำ ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่สถานีสูบน้ำ  เพื่อสำรองไฟฟ้าในกรณีที่ไฟฟ้าดับ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อ เร่งระบายน้ำในจุดที่มีน้ำท่วมขังครอบคลุมทุกพื้นที่ เตรียมรับมือปัญหาน้ำท่วมในเขตเทศบาล นครอุดรธานี และพื้นที่โดยรอบใน ช่วงฤดูฝนที่จะถึงนี้
                ๑.๓ การแก้ไขปัญหาสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงซ่อมแช่มผิวถนน ทางเท้าในเขตเมือง และในเขตชุมชนที่มีภาพ เป็นหลุม บ่อ ให้มีพื้นผิวเรียบ ทาสีจราจร ทางม้าลาย ติดตั้งป้ายสัญญาณจราจร ให้เด่นชัด และติดตังระบบไฟฟ้า ส่องสว่างอย่างทั่วถึงเพื่อ ความปลอดภัยของประชาชนในการสัญจร ๑.๔ ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเมือง ทำความสะอาดถนน ทางเท้า และจัดการเรืองขยะไม่ให้ตกค้าง เพื่อให้ถนนทุกสายสะอาด สวยงามไร้ฝุ่น ตัดแต่งต้นไม้ให้สวยงามเป็นระเบียบ และเพื่อความปลอดภัยเมื่อ เกิดฝนตกและลมกระโชก ๑.๕ จัดตั้งสภาพลเมือง ที่เป็นตัวแทนจากทุกภาค    ส่วน ทุกกลุ่ม ทุกชุมชน เพื่อจัดตั้ง สภาพลเมือง ในระดับชุมชน และระดับเมือง เพื่อวางแผนและนำ เสนอแนวทางการพัฒนาสู่นายกเทศมนตรีและผู้คณะบริหาร
                ๑.๔ ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเมือง ทำความสะอาดถนน ทางเท้า และจัดการเรื่องขยะไม่ให้ตกค้าง เพื่อ ให้ถนนทุกสายสะอาด สวยงามไร้ฝุ่น ตัดแต่งต้นไม้ให้สวยงามเป็นระเบียบ และเพื่อ ความปลอดภัยเมื่อ เกิดฝนตกและลมกระโชก  
                ๑.๕ จัดตั้งสภาพลเมือง ที่เป็นตัวแทนจากทุกภาคส่วน ทุกกลุ่ม ทุกชุมชน เพื่อจัดตั้ง สภาพลเมือง ในระดับชุมชน และระดับเมือง เพื่อ วางแผนและนำเสนอแนวทางการพัฒนาสู่นายกเทศมนตรีและผู้คณะบริหาร

                       ๒. ด้านการพัฒนาเมือง ขับเคลื่อนเทศบาลนครอุดรธานีสู่“เมืองสีเขียว” (Green City) หรือเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมืองที่ประชาชนร่วมกันออกแบบเมืองด้วย “สภาพลเมือง” โดยคำนำ ถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อ ม และสร้างระบบนิเวศเมืองให้เกิดความสมดุลุ ในโครงการ“รักษ์อุดร ร่วมสร้างอุดร”โดยมีเป้าหมายให้ทุกองค์กรทั้งภาครัฐเอกชน และประชาชน ทุกคน นำแนวคิดวิถีชีวิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปปรับใช้ในวิถีชีวิตประจำวัน จนกลายเป็นวิถีชีวิตปกติ เพื่อส่งผลให้อุดรธานีเป็นเมืองสีเขียวได้อย่างยั่งยืน โดยมีแผนงาน ดังนี้
                                 ๒.๑ เพิ่มพื้นที่สีเขียว ปลูกต้นไม้ในเมือง เพิ่มป่าชุมชน ด้วยพันธ์ไม้พื้นเมืองและส่งเสริมให้ประชาชนร่วมกันปลูกต้นไม้ในพื้นที่ของตนเองและพื้นที่ของเอกชนสร้างปอดใหม่ให้คนเมือง เพิ่มพื้นที่สันทนาการทีง่ายต่อ การเข้าถึงให้กับทุกชุมชน สำ หรับทุกเพศ ทุกวัย                

                                ๒.๒ บริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยระบบการจัดการขยะที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง รณรงค์ส่งเสริมการลดและการคัดแยกขยะมูลฝอย ในครัวเรือน ในชุมชน ส่วนราชการ สถานศึกษา ศาสนาสถาน ภาคเอกชน และสถานประกอบการ ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
                                ๒.๓ บริหารจัดการระบบระบายน้ำทิ้ง และระบบระบายน้ำ เสียอย่างเป็นระบบ ครอบคลุม ทุกพื้นที่ของเขตเทศบาลนครอุดรธานี และประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันออกแบบและบริหารจัดการระบบระบายน้ำทิ้ง และระบบ ระบายน้ำ  เสียอย่างเป็นระบบที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ๒.๔ พัฒนาพื้นที่ย่านเศรษฐกิจในเขตเมือง และส่งเสริมย่านการค้าใหม่ ด้วยโครงการ นำสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงใต้ดิน ปรับปรุงเส้นจราจรและเครื่องหมายจราจรให้ชัดเจนปรับปรุง ผิวถนนและทางเดินเท้าให้ได้มาตรฐานการออกแบบ Universal Design ที่เอื้อต่อคนทุเพศ ทุกวัย และคนพิการ ส่งเสริมเศรษฐกิจย่านธุรกิจเก่าในเขตเมือง ย่านการค้าใหม่ให้เชื่อมโยงถึงกัน สร้างพื้นที่ และส่งเสริมให้มีพื้นที่จอดรถยนต์ ทั้งภาครัฐ และเอกชนในเขตเมือง และส่งเสริมให้คนเดินสามารถ เข้าถึงพื้นที่ย่านการค้าได้อย่างสะดวก ๒.๕ พัฒนาย่านชุมชนที่อยู่อาศัยให้สะอาดน่าอยู่และปลอดภัย ด้วยการปรับปรุง สาธารณูปโภคถนน ท่อ ระบายน้ำ ไฟฟ้าแสงสว่างในชุมชน ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการ ขยะ และจิตอาสาดูแลเฝ้าระวังภัย เพื่อ สร้างเครือข่ายกับ อาสาป้องกันภัย อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำ หมู่บ้าน (อ.สม.) เพื่อให้เป็น “ชุมชนน่าอยู่และปลอดภัย” ๒.๖ ยกระดับเทศบาลนครอุดรธานี สู่ Smart Urban ด้วยการนำ เอาเทคโนโลยีและ นวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาดไม่ว่าจะเป็น Internet of Things (IoT) Artificial intelligence (AI) หรือปัญญาประดิษฐ์เพิ่ม Internet เมืองและชุมชน นำ  Digital Platform มาใช้ในการพัฒนา เมือง เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ ทรัพยากรของเมือง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจ ภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง ร่วมกัน ออกแบบเมืองภายใต้กรอบแนวคิดเมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัยและยังยืน เช่น การแก้ปัญหาการจราจร โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการควบคุมสัญญาณไฟจราจร ในเมืองทั้งระบบ สร้างพื้นที่จอดรถอัจฉริยะ ในเมือง ส่งเสริมให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าด้วยการเพิ่มจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และให้สำนักงาน เทศบาลนครอุดรธานี เป็นต้นแบบ Smart Office ที่เอื้อต่อ คนพิการและทุกเพศ ทุกวัย (Universal Design) ๒.๗ พัฒนาระบบขนส่งมวลชน จัดระบบขนส่งมวลชนที่มีอยู่เดิมและพัฒนาระบบ ขนส่งมวลชนใหม่ให้เป็นไปตามผลการศึกษาของ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม ด้วยการร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด อุดรธานี และเทศบาลอื่น โดยรอบ เพื่อร่วมลงทุนและส่งเสริมให้เกิดระบบขนส่งมวลชน ที่เหมาะสม ที่เอื้อต่อประชาชนและนักท่องเที่ยว
                ๓. ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการสร้างรายได้ ด้วย การประสานความร่วมมือกับ หอการค้าสภาอุตสาหกรรม สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวและหน่วยงานอื่น เพื่อส่งเสริมและเปิดพื้นที่ให้นักธุรกิจ และนักอุตสาหกรรมรุ่นใหม่ ได้สร้างนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี สร้างอุตสาหกรรมอัจฉริยะ สร้างนวัตกรรมด้านการตลาด online สร้างงาน สร้างรายได้กระจายสู่ ทุกพื้นที่ทั้งในย่านเขตเศรษฐกิจในเมือง และชุมชนโดยมีโครงการพัฒนาเศรษฐกิจภาพรวมในเขต เทศบาลนครอุดรธานี ดังนี้
                                ๓.๑ โครงการเกษตรปลอดภัย“ปลูกกินได้ปลูกขายก็ดี”เกษตรวิถีเมือง(UrbanFarming) ๑ ชุมชน ๑ โรงเรือนอัจฉริยะ
                                ๓.๒ ยกระดับชุมชนที่่ มีศักยภาพให้เป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีเมืองและวัฒนธรรม เฟ้นหา ของดีและจุดเด่นแต่ละชุมชน เช่น ยกระดับตลาดในเขตเทศบาลนครอุดรธานีให้เป็นตลาดสีเขียว ส่งเสริมให้มีย่านอาหาร (Street Food) เพิ่มพื้นที่ผ่อนผันและจัดระเบียบให้กับผู้ประกอบการ รายย่อยได้มีพื้นที่ค้าขายอย่างถูกต้องตามระเบียบ สร้างตลาดน้ำ  แห่งแรกของอุดรธานี “ตลาดน้ำ  ชุมชนคลองเจริญ” พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ศาลเจ้าปู่ย่า ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน พัฒนา ย่านชุมชนคนไทยเชื้อสายเวียดนาม หรือเวียดนามทาวน์ปรับปรุงพระธาตุหนองบัวกอง ให้เป็น แหล่งท่องเที่ยว สวนสาธารณะหนองใหญ่ สวนสาธารณะหนองเตาเหล็ก และสวนสาธารณะ หนองเหล็กเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนและแหล่งท่องเทียววิถีชุมชน และเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยพันธ์ไม้พื้นถิ่น เปิดพื้นที่ Street Art เพื่อสร้างเสน่ห์ให้กับเมือง เปิดพื้นที่ให้มีการแสดงศิลปะในทุกสาขา ณ ลานพิพิธภัณฑ์เมือง เพิ่มถนนคนเดิน ยกระดับและปรับปรุงถนนคนเดินให้เป็นหมวดหมู่สวยงาม เพิ่มกิจกรรมส่งเสริมให้คนมาเดินซื้อของมากขึ้น ส่งเสริมผู้สูงอายุในชุมชน มีสันทนาการ มานทำและ มีรายได้สร้าง Land mark ใหม่ของเมือง ด้วยการปลูกต้นจาน และพันธ์ไม้พื้นถิ่น
                                ๓.๓ สนับสนุนให้คนจนเมือง และผู้ด้อยโอกาสได้เข้าถึงแหล่งทุน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย ประจำวันและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
                                ๓.๔ ประสานความร่วมมือ สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวฯ สมาคมโรงแรม ร้านอาหาร สร้าง เครือข่าย เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกว่า ๓ ล้านคนต่อปีให้เกิดความสุข สะดวกสบาย เพื่อ เกิดการ ใช้จ่ายในจังหวัดอุดรธานี
                 ๔. ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการศึกษา มีเป้าหมายการพัฒนาคนในทุกช่วงวัยให้เป็นคนที่มีคุณภาพ มีสุขภาวะที่ดี มีจิตสาธารณะ มีความ รับผิดชอบต่อสั่งคม มีวินัย รักษาศีลธรรม มีทักษะที่จำ เป็น ในศตวรรษที่ ๒๑ เช่น ยกระดับโรงเรียน เทศบาลทั้ง ๑๒ แห่ง ให้ได้มีคุณภาพมาตรฐานโดดเด่น เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ตาม อัธยาศัยเพื่อ เป็นรากฐานสำคัญในการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเน้นให้นักเรียนได้เรียนภาษาที่ ๓ ปรับบทบาทครูให้ เป็นครูยุคใหม่วางพื้นฐานระบบรองรับการเรียนรู้ใน ดิจิตอลแพลตฟอร์ม ส่งเสริมการเรียนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี นำภูมิปัญญาชาวบ้านมาสร้างนวัตกรรม โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เรียนรู้ตลอดชีวิต ๕. ด้านสาธารณสุขและการกีฬา มุ่งเน้นให้ประชาชนมีสุขภาวะที่และส่งเสริมการกีฬาให้กับประชาชน เช่น ผลักดันโรงพยาบาลเทศบาลนครอุดรธานี ให้สามารถบริการ ประชาชนได้เต็มรูปแบบ มีแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ไว้บริการประชาชนตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพิ่มศูนย์บริการทางการแพทย์ให้ครอบคลุกทุกพื้นที่ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี และ สะดวกต่อ การเข้าถึง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และคนพิการ จะได้รับความสะดวกในการเข้ารับบริการ สนับสนุนส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้าน (อ.สม.) ด้วยการสนับสนุนด้านอุปกรณ์ ทางการแพทย์เบื้องต้นที่่จำ เป็น และสร้างเครือข่ายร่วมกับอาสาสมัครป้องกันภัย อื่น ๆ ส่งเสริมให้มีล้านกีฬา ประจำชุมชน และส่งเสริมการออกกำลังกายเปิดพื้นที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์สวนสาธารณะหนองสิม สวนสาธารณะหนองบัว ทุ่งศรีเมือง และพื้นที่สาธารณะอื่น ๆ ให้เยาวชน และประชาชน ทั่วไป จัดให้มีพื้นที่สันทนาการ และการออกกำลังกาย สนับสนุนอุดรธานีเมืองกีฬา (Udonthani Sports City) ให้เป็นเมืองกีฬาระดับนานาชาติ และก้าวสู่เมืองอุตสาหกรรมกีฬา (Sports Industry City) สนับสนุนส่งเสริม ให้เกิดกิจกรรม ธุรกิจ และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับด้านการกีฬา เพื่อ เพิ่ม มูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับเมือง อาทิเช่น สร้างศูนย์ฝึกกีฬาระดับภูมิภาคและระดับชาติ ๖. ด้านความปลอดภัยของเมือง (Urban Security) จากสภาพปัญหาของเมืองใหญ่ที่มีความซับซ้อนในทุกมิติเพื่อเป็นหลักประกันให้กับประชาชน และนักท่องเที่ยว ต้องมีความปลอดภัยมากกว่าที่เป็นอยู่และรองรับอนาคตสำหรับนครอุดรที่จะเป็น เมืองแห่งการท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ดั่งนี้จัดตั้งศูนย์กับดูแลเมืองตลอด ๒๔ ชั่วโมง เป็นศูนย์ควบคุมการจราจร และความปลอดภัยของเมือง ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูล กับเทศบาล โดยรอบ และหน่วยงานด้านความปลอดภัยทั้งหมด เพื่อสามารถรองรับอุบัติภัยได้ทุกระดับ ติดตั้ง กล้อง CCTV เพิ่มให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และเชื่อมโยงกับระบบกล้อง CCTV กับหน่วยงานอื่น ให้ครอบคลุมทั้งระบบ เช่น เทศบาลโดยรอบ พื้นที่เอกชน ศูนย์การค้าและแบ่งปันข้อมูลแบบเรียลไทม์ ให้กับประชาชน จัดตั้งอาสาสมัครในชุมชน เพื่อดูแลความปลอดภัย และป้องกันภัยยาเสพติดพร้อม ฝึกอบรมให้ได้มาตรฐานและประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านความปลอดภัยและปรับปรุง ระบบแสงสว่างให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในเทศบาลฯเพื่อ ความปลอดภัยในชุมชน ทั้งนี้นายกเทศมนตรี และคณะผู้บริหาร พร้อมที่จะนำ นโยบายไปสู่การปฏิบัติให้เห็นผล อย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อให้ตรงกับความต้องการของประชาชนให้มากที่สุดโดยมีแผนยุทธศาสตร์ จังหวัดอุดรธานีแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ชาติเป็นกรอบในการ บริหารงาน เพื่อส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ เทศบาลนครอุดรธานี และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น โดยรอบต่อ ไป


ไฟล์ภาพ



Image

สำนักงานเทศบาลนครอุดรธานี

Udonthani Municipality

ถนน.อธิบดี ตำบลหมากแข้ง อำเภอ เมือง จังหวัดอุดรธานี 41000

udoncity@udoncity.go.th

Tel : 042-325-176 ถึง 85 ต่อ 7001, 8601, 8602

Fax : 042-221-159, 042-326-456

© 2023 Development BY งานเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม กองสารสนเทศภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน All Rights Reserved